ค้นหา

Custom Search

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

การเนาผ้า

วันนี้ไม่รู้จะเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนหรือเปล่านะคะ แต่ก็เผื่อไว้ดีกว่า

หลังจาก เย็บกลับ ตัวกระเป๋า และข้างกระเป๋าแล้ว ก็ต้องมาเนาผ้ากันค่ะ




เวลาทำงาน quilt ต้องเนาก่อนที่จะ quilt นะคะ ถ้างานชิ้นไม่ใหญ่มาก ก็อาจจะเนาแค่แนวเดียว(เช่นข้างกระเป๋า) ภาพตัวอย่างของคุณตั๋น beatquiltและคุณ Amarasin (พอดีเป้ไม่ได้ถ่ายของตัวเองไว้)





ถ้าเป็นงานชิ้นใหญ่จะเนาทั้งแนวตั้งและแนวนอนค่ะ อาจมีครูบางท่าน หรือ หนังสือบางเล่มให้เนาเป็นแนวรัศมีก็ได้ค่ะ ส่วนตัวอย่างที่นำมาให้ดูมาจากเวปของเกาหลี






การเนากระจายจากจุดศูนย์กลางออกมาเหมือนดาวกระจาย จะเหมาะกับการควิลท์ผ้า 3 ชิ้น เพราะมันจะดึงผ้าให้ตึง ไม่ย่น ยู่ยี่เวลาควิลท์ การเนาแนวนอนหรือแนวตั้งเหมาะกับการควิลท์สองชิ้น หรือควิลท์ผ้าที่เป็นแบบเย็บกลับมากกว่าค่ะ

อย่างไรก็ตามเพื่อนๆอาจลองดูหลายๆแบบก็ได้ ดูว่าอย่างไหนเราทำงานได้สะดวกก็เลือกใช้แบบนั้นนะคะ
การเนามีประโยชน์เพื่อความสวยงามของชิ้นงานค่ะ จะได้ไม่ย่น ไม่พอง และเพิ่มความสะดวกในการทำงานค่ะ
เช่น จะได้ไม่โดนเข็มหมุดตำ หรือได้เห็นรูปทรงว่าประกอบแล้วถูกสัดส่วนไม๊ ดูให้แน่ใจก่อนลงมือเย็บจริง

เป้จะไม่ใช้ด้ายควิลท์ในการเนานะคะ มันเปลือง 555 ใช้ด้ายวีนัสธรรมดาหลังจากนั้นจึงควิลท์ ให้ควิลท์ด้วยความนุ่มนวล อย่าดึงด้ายตึงมากไป เพราะจะทำให้ผ้าย่น พอควิลท์ไปแล้วชิ้นงานจะหดลง

สำหรับ LV neverfullอย่างที่ได้เคยบอกไปคือผ้าชิ้นหลังต้องเหลือไว้มากกว่าชิ้นหน้า พอควิลท์เสร็จแล้วนำแพทเทิร์นมาวางทาบใหม่อีกทีวัดให้พอดี เผื่อเย็บ 0.7 เพื่อความมั่นใจ แล้วถึงตัดผ้าส่วนที่เกินออกไป



ครั้งหน้าจะมาว่าด้วยการควิลท์นะคะ


อ้างอิง
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=beatquilt&date=11-11-2010&group=1&gblog=18
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=addsiripun&group=21

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น