ค้นหา

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ว่าด้วยเรื่องใยแบบมีกาว

การใช้ใยกาวค่ะ

กระเป๋าใบใหม่ของเป้ จะมีการใช้ใยกาวด้วยนะคะ ซึ่งได้ไอเดียมาจากการดูฮาวทูของเวปอันนี้นะคะ ดูเรียบๆแต่ก็น่ารักดี



ตอนแรกก็ตัดใยกาวของเราเท่ากับแบบเป๊ะๆเลย จากนั้นก็เอาผ้าที่เราใช้มาวางเลยทับเลย ไม่ต้องวาดอะไรทั้งสิ้น



จากนั้นก็รีดทับให้กาวติดกับผ้า


จากนั้นก็เผื่อเย็บค่ะ0.7-1 cm ก็ได้ จะเห็นว่าเราจะีมีใยเป็นแนวเย็บชัดๆเลย





ด้านหน้าก็จะเรียบเนียนอย่างนี้ค่ะ



วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเลือกสี






การเลือกสีที่ใช้ในการออกแบบกระเป๋านั้น มีหลักในการใช้กว้างๆ อยู่ 2 ประการ คือ การใช้สีกลมกลืนกัน และ การใช้สีตัดกัน

1. การใช้สีกลมกลืนกัน
การใช้สีให้กลมกลืนกัน เป็นการใช้สีหรือน้ำหนักของสีให้ใกล้เคียงกัน หรือคล้ายคลึงกัน เช่น
การใช้สีแบบเอกรงค์ เป็นการใช้สีสีเดียวที่มีน้ำหนักอ่อนแก่หลายลำดับ
การใช้สีข้างเคียง เป็นการใช้สีที่เคียงกัน 2 – 3 สี ในวงสี เช่น สีแดง สีส้มแดง และสีม่วงแดง
การใช้สีใกล้เคียง เป็นการใช้สีที่อยู่เรียงกันในวงสีไม่เกิน 5 สี


2. การใช้สีตัดกัน
สีตัดกันคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี (ดูภาพวงจรสี ประกอบ) การใช้สีให้ตัดกันมีความจำเป็นมาก ในจับคู่สีผ้า เพราะช่วยให้เกิดความน่าสนใจ ในทันทีที่พบเห็น สีตัดกันอย่างแท้จริงมี อยู่ด้วยกัน 6 คู่สี คือ
1. สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง
2. สีส้ม ตรงข้ามกับ สีน้ำเงิน
3. สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว
4. สีเหลืองส้ม ตรงขามกับ สีม่วงน้ำเงิน
5. สีส้มแดง ตรงข้ามกับ น้ำเงินเขียว
6. สีม่วงแดง ตรงข้ามกับ สีเหลืองเขียว





การใช้สีตัดกัน ต้องคิดถึงภาพรวมด้วย ไม่ใช่ดูเลอะ วิธีการใช้มีหลายวิธี เช่น
ใช้สีให้มีปริมาณต่างกัน เช่น ใช้สีแดง 20 % สีเขียว 80% คือสีหนึ่งสีใดผสมกับสีคู่ที่ตัดกัน
ด้วยปริมาณเล็กน้อย
รวมทั้งการเอาสีที่ตัดกันมาเป็นขอบ เป็นกุ๊น เป็นก้นกระเป๋า หรือทำให้เป็นลวดลายแอพพริเค่
เล็ก ๆ

ในกระเป๋าหนึ่งใบ อาจจะใช้สีให้กลมกลืนกันหรือตัดกันเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจจะใช้พร้อมกันทั้ง 2 อย่าง ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการ และความคิดสร้างสรรค์ของเรา ไม่มีหลักการ หรือรูปแบบที่ตายตัว


หรือจะเอาแบบง่ายๆเลยนะคะ สมมุติว่ากระเป๋าเราต้องใช้ 3สี
เวลาเลือกอย่าเลือกว่าจะเอา 3 สีไหน แต่ให้เลือกผ้าหลักก่อนและสีที่ 2และ 3 โดยให้สีที่ 2 เสริมสีที่ 1 ให้โดดเด่น คนส่วนใหญ่จึงมักใช้จุด ตาราง ดอกไม้ หรือลายเล็กๆ เราอาจจะเลือกสีโทนเดียวกันหรือ ตัดกันก็ได้ตามความชอบ
ง่ายๆก็คือเลือกผ้าชิ้นหลักมาหนึ่งชิ้นค่ะ เสร็จแล้วมาดูว่าในผ้าหลักของเรามีสีอะไรบ้าง ก้อเอาผ้าที่โทนสีที่มีอยู่ในผ้าหลักมาแมทกัน ถ้าสังเกตดูผ้าบางชิ้นที่มีชายผ้า เป็นวงกลมสีๆหนะค่ะ คือ สีของผ้าที่สามารถนำมาแมทกันกับผ้าชิ้นนั้นได้ค่ะ ไม่ว่าจะเลือกแบบใช้ทฤษฎีข้อไหนแต่ถ้ามันเป็นสีที่อยู่ในผ้าหลักของเรานะคะ ยังไงก็ไม่พลาดแน่นอนค่ะ










วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เคล็ดไม่ลับ กับการแอพพรีเค่ TIPS FOR APPLIQUE

1 การลอกแพทเทิร์นสำหรับทำแอพพรีเค่ บางคนอาจจะชอบใช้แผ่นพลาสติกลอกลายออกมาแล้วตัดเป็นชิ้น เพื่อจะได้ใช้ได้หลายๆ หน แต่ถ้าใครคิดว่าจะทำกระเป๋าใบนี้เพียงแค่ครั้งเดียวลองวิธีนี้ดูนะคะ
คือแทนที่เราจะลอกออกมาที่ละชิ้น เป้เลือกใช้วิธีถ่ายเอกสารแพทเทิร์นออกมาอีกชุดแทน (ใช้กระดาษรียูสก็ได้) แล้วเอาอันนั้นแหละมาตัดออกเป็นชิ้นๆ ซึ่งก็ใช้เหมือนกัน แถมยังประหยัดเวลาอีกด้วย วางแพทเทิร์นลงไปบนผ้าด้านถูก แล้วใช้ดินสอกดเขียนผ้า(เส้นมันเล็กดีค่ะ) เขียนรอบ แล้วเผื่อเย็บ 0.5-0.7ซม.




2. ก่อนจะแอพพรีเคควรวางชิ้นส่วนทั้งหมดลงไปบนผ้าก่อน แล้วดูว่าส่วนไหนจะถูกอีกชิ้นนึงทับ ตรงนั้นเราก็ไม่ต้องพับสอย ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ตะเข็บเรียบขึ้น เพราะมันไม่หนาเกิน ถ้าำำกลัวลืมว่าฝั่งไหนพับไม่พับ ก็ให้ใช้ดินสอกดอีกสีนึงขีดตรงขอบที่ไม่จำเป็นต้องพับสอยเอาไว้ก็ได้ค่ะ


3. การเลือกสีด้าย ต้องให้เป็นสีเดียวกับผ้าที่เรานำมาแอพ ไม่ใช่สีเดียวกับพื้นหลังนะคะ

4. เวลาพับสอย ระวังอย่าให้ฝีเข็มห่างเกินไปยิ่งถ้าแบบของเราเป็นแบบที่ค่อนข้างยาก มีโค้งมีเว้าเยอะ ฝีเข็มจะต้องถี่ขึ้น

ตอนนี้คิดออกแค่นี้นะคะ มีเพื่อนคนไหนที่มีเคล็ดไม่ลับแบบนี้สามารถนำมาแบ่งปันกันได้นะคะ



เป้

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การต่อผ้าแนวโค้งค่ะ

1. สมมุติว่านี่คือแพทเทิร์นที่ผ้าที่เราจะต่อนะคะ เอากระดาษลอกลาย หรือแผ่นพลาสติกมาลอกลายลงไปค่ะ
2. เขียนตัวเลขที่กำกับไปในแพทเทิร์นลงไปด้วยนะคะ จะได้ไม่งง (ส่วนใหญ่เวลาเราซื้อแพทเทิร์นมา เค้าจะมีตัวเลขกำกับไว้อยู่แล้ว จากนั้น ขีดเส้นตรงประมาณ 2 ซม. ตั้งฉากกับแนวเย็บของเราลงไปบนแพทเทิร์น ถ้าแพทเทิร์นยิ่งโค้งมากยิ่งจะต้องขีดถี่ขึ้น ส่วนชิ้นที่มีเป็นจุดตัดกันให้ทำเครื่องหมายที่จุดตัดด้วยจะได้รู้ว่าจุดเริ่มต้นอยู่ตรงไหน


3. จากนั้นตัดแพทเทิร์นแยกออกมาก

4. เอาไปวางไว้บนผ้าด้านผิด ขีดโดยรอบ รวมทั้งเครื่องหมายดังรูป

5. วาดเส้นเผื่อเย็บตะเข็บ 0.7 ซม.



ุ6.จากนั้นเอามาต่อกันตามลำดับตัวเลข เอาเข็มหมุดตรึงตรงเครื่องหมายที่ทำไว้ค่ะ

ตอนเย็บอย่าดึงเข็มออกเร็วเกิน เย็บทับเข็มหมุดไปเลย เย็บผ่านไปก่อน แล้วค่อยไปดึงออกทีหลัง



7. จากนั้นเปิดออกมา และกดเบา ๆ รอยต่อจากด้านหน้า จะให้ดีเอาไปรีดได้คะ ควรล้มตะเข็บทั้งคู่ไปยังด้านที่ผ้าสีเข้มกว่านะคะ (ไม่ควรแบะตะเข็บจ้า)


เทคนิคการแอพพริเค่ แบบต่างๆ

(กดดูภาพขยายได้นะคะ)